วันศุกร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2560

บทที่ 1 สังคมสารสนเทศ



บทที่ 1 สังคมสารสนเทศ
 
Image result for สารสนเทศ

 
ความหมายของสังคมสารสนเทศ

สังคมสารสนเทศหรือสังคมข่าวสาร (The information society) เป็นสังคมที่มีการใช้สารสนเทศรูปแบบต่างๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจทั้งเพื่อประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม ในสังคมสารสนเทศจะทำให้เราได้รับสารสนเทศที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการและทันเวลา สังคมสารสนเทศ เราสามารถแบ่งกลุ่มเทคโนโลยีต่างๆ ที่จัดอยู่ในประเภทเทคโนโลยีสารสนเทศได้ดังนี้
 • เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีโทรคมนาคมหรือการสื่อสารข้อมูล
 
คุณลักษณะของสังคมสารสนเทศ
1. เป็นสังคมที่มีการใช้สารสนเทศที่บันทึกอยู่บนสื่อที่เป็นเอกสาร สิ่งพิมพ์ และไม่ตีพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เสียงภาพ ฯลฯ
2. เป็นสังคมที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT เพื่อการได้มา จัดเก็บ ประมวลผล สืบค้น และเผยแพร่สารสนเทศให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้อย่างรวดเร็วถูกต้องและทันเวลา
3. เป็นสังคมที่มีการใช้ผลิตภัณฑ์หรืออุปกรณ์ที่มีไมโครโพรเซสเซอร์เป็นตัวควบคุมการทำงาน เครื่องอำนวยความสะดวก ตัวอย่างเช่น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เตาไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์กันขโมย ระบบควบคุมไฟฟ้า เป็นต้น
4. เป็นสังคมที่ผู้ใช้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ด้วยตนเองทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม อันนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตและการเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบการด้านต่างๆ
 
ความสำคัญของสารสนเทศ
ในปัจจุบันมีคำพูดที่กล่าวถึงความสำคัญของสารสนเทศว่า Information is Power หรือสารสนเทศคือพลัง หมายถึง ผู้ใดที่มีสารสนเทศหรือ ได้รับสารสนเทศที่มีคุณค่าและทันสมัย ผู้นั้นย่อมมีพลังหรือมีอำนาจ ได้เปรียบผู้อื่นในทุก ๆ ด้านเพราะสารสนเทศเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งอันเกิดจากสติปัญญาของมนุษย์ เพื่อประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ จึงมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคม คือ สารสนเทศที่ดี ถูกต้อง เหมาะสมจะช่วยพัฒนาบุคคลในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. พัฒนาสติปัญญา ช่วยให้เป็นผู้ที่ได้รับ เจริญก้าวหน้าทางการศึกษามีความคิดสร้างสรรค์ สามารถนำความรู้ แนวคิดต่าง ๆ มาพัฒนาสติปัญญาของตนให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
2. พัฒนาบุคลิกภาพ สารสนเทศต่าง ๆ ที่ได้รับรู้นั้น สามารถนำไปพัฒนาบุคลิกภาพส่วนบุคคลได้ ทำให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
3. เกิดความเจริญงอกงามด้านจิตใจ   มีคุณค่าต่อจิตใจทำให้มี จิตใจเป็นธรรม ไม่อคติ สามรถควบคุมอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้ มีจิตใจดี รักศิลปะ และวรรณกรรม
4. เพิ่มประสิทธิภาพการประกอบอาชีพ บุคคลที่มีสารสนเทศที่ดี ถูกต้องทันสมัยย่อมได้เปรียบผู้อื่น สามารถนำสารสนเทศที่ได้รับใหม่ ๆ นั้นมาเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบอาชีพให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
5. การตัดสินใจที่เกิดประโยชน์สูงสุด หากมีสารสนเทศที่ดี ถูกต้อง สมบูรณ์ จะทำให้บุคคลสามารถตัดสินใจในการบริโภค การประกอบการ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและใช้สารสนเทศตัดสินใจเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนให้ดีขึ้น
ความสำคัญของสารสนเทศต่อสังคม สารสนเทศที่มีคุณภาพจะช่วยพัฒนาสังคมโดยส่วนรวมได้หลายด้าน คือ
1. ด้านการศึกษา การเลือกใช้สารสนเทศที่ดี ทันสมัย มีคุณค่าจะช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2. การศึกษาค้นคว้า วิจัย ที่มีประสิทธิภาพ น่าเชื่อถือและสามรถนำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมได้มาก
3. พัฒนาวิทยาการและเทคโนโลยีให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น เพราะสารสนเทศที่ถ่ายทอดความรู้ เทคนิคใหม่ ๆ สืบต่อกันมานั้น สามารถนำไปพัฒนาวิทยาการและเทคโนโลยีให้ ก้าวหน้ายิ่งขึ้นซึ่งมีผลต่อการพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
4. การถ่ายทอดวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ความรักในศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติตน
5. สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างมนุษยชาติ การได้รับสารสนเทศที่มีคุณค่า ช่วยให้ผู้รับมีโลกทัศน์กว้างขวาง แม้จะต่างเชื้อชาติ ศาสนา ก็มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน ช่วยลดความขัดแย้ง ทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
6. พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ สารสนเทศที่มีคุณค่าช่วยลดปัญหาการลองผิดลองถูกทำให้ลดต้นทุนและช่วยเพิ่มผลผลิตและรายได้ ทำให้เศรษฐกิจของบุคคลและประเทศชาติดีขึ้น
7. พัฒนาการเมือง สารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองที่มีคุณค่า มีคุณธรรมปราศจากอคติ ย่อมก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอันดีทางด้านการเมือง ซึ่งจะเป็นผลดีในการพัฒนาระบบ การเมืองของประเทศชาติให้ดีขึ้น
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สารสนเทศนั้นมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคม ช่วยพัฒนาบุคคลให้มีความก้าวหน้าทางสติปัญญา ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพ พัฒนาอาชีพ สามารถตัดสินใจแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ มีโลกทัศน์กว้างขวางซึ่งมีผลต่อการพัฒนาสังคม การพัฒนาประเทศ ทั้งด้านสังคม ด้านการศึกษา ศิลปวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครอง
 
ยุคสารสนเทศ
การเข้าใจยุคสมัยจะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้เหมาะสมและสามารถเข้ากับคนอื่นได้เป็นอย่างดี ยุคสมัยจากอดีตถึงปัจจุบันประกอบด้วยยุคต่างๆ ตามแนวคิดของ อัลวิน ทอฟเลอร์ ดังนี้
1.1 ยุคเกษตรกรรม ยุคนี้เป็นยุคแรกของมนุษย์ที่รู้จักการรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มๆ ทำให้มีพฤติกรรมการอยู่ร่วมกัน โดยใช้เกษตรกรรมซึ่งเป็นปัจจัยในการยังชีพมาเป็นหลัก
1.2 ยุคอุตสาหกรรม ยุคนี้โลกได้พัฒนาขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง มนุษย์คิดค้นเครื่องมือการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีมาช่วยแรงงานมนุษย์ ก่อให้เกิดการแข่งขันด้านการผลิต ที่ต้องใช้ "ทุน" มาเป็นตัวประกอบที่สำคัญทำให้ระบบเงินตราและการใช้ทรัพยากรมีความสำคัญมากขึ้น ในระบบนี้ทุกอย่างล้วนต้องแข่งขันกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
1.3 ยุคสารสนเทศ (Information Technology) เราเริ่มเข้าสู่ระบบสารสนเทศ (Information Techno logy) อย่างเต็มรูปแบบมากขึ้น อำนาจและอิทธิพลของการดำเนินชีวิตถูกควบคุมด้วยระบบสารสนเทศ ใครที่ไม่มีข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอก็จะดำรงตนอยู่ในสังคมลำบากขึ้นทุกขณะ สารสนเทศเป็นทั้งอาวุธที่ใช้ต่อสู้กับการดำเนินชีวิตประจำวันและยังใช้เป็นเครื่องมือในการหาโอกาสเพื่อสร้างฐานะได้ด้วย
 
ตารางเปรียบเทียบยุคต่าง ๆ
 
ระยะเวลา
คนทำงาน
ความสัมพันธ์
เครื่องมือหลัก
ยุคเกษตรกรรม
..1750
เกษตรกร
คนกับที่ดิน
แรงงาน
ยุคอุตสาหกรรม
1750-1980
คนงานโรงงาน
คนกับเครื่องมือ
เครื่องจักร
ยุคสารสนเทศ
1980-ปัจจุบัน
คนงานความรู้
คนกับคน
ไอที

คุณลักษณะของสังคมสารสนเทศ
พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและแนวโน้มต่อไปในอนาคตมีส่วนสำคัญอย่างมากมายที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และความหลากหลายต่อการจัดการ
สารสนเทศ และการดำเนินชีวิตประจำวัน ของบุคคล ตลอดจนถึงหน่วยงานต่าง ๆ จอห์น ในส์บิทท์ได้ทำนายเหตุการณ์ไว้ดังนี้
1. จะเกิดการผสมกลมกลืนระหว่างเทคโนโลยี เป็นการรวมกันระหว่าง โทรศัพท์ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะช่วยให้การสื่อสารของมนุษย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. กลยุทธ์การรวมกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจ โดยบริษัททางธุรกิจจะรวมตัวกัน เช่น บริษัทหนังสือพิมพ์ รวมกับบริษัทโทรทัศน์และบริษัทที่เป็นเจ้าของดาวเทียม เครือข่ายโทรศัพท์ รวมตัวกับบริษัทที่เป็นเจ้าของดาวเทียม เครือข่ายโทรศัพท์รวมตัวกับบริษัทโทรคมนาคม เพื่อจัดส่งวิดีโอ ออนดีมานด์ ด้วยเหตุที่ผู้บริโภคต้องการของที่ใช้ง่าย สะดวกและใช้ได้ดี ซึ่งออกมาในรูปของสื่อประสม
3. การสร้างระดับเครือข่ายระดับโลก การปฏิวัติทางด้านสื่อสารมีส่วนในการสร้างเครือข่ายของเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมคนทั่วโลกเข้าด้วยกัน ทำให้คนจากสถานที่แห่งหนึ่ง สามารถติดต่อกับอีกคนหนึ่งที่อยู่ห่างออกไปคนละขั้วโลก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ชีวิตคนเปลี่ยนไป
4. คอมพิวเตอร์ส่วนตัวสำหรับทุกคน ซึ่งเป็นการปฏิวัติไปสู่การมีส่วนร่วมทางข่าวสารและสารสนเทศ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ที่บ้าน ที่ทำงาน เราก็สามารถทำงานได้โดยใช้ "คอมพิวเตอร์" เป็นเครื่องมือที่จะส่งรับ การสื่อสารทุกประเภท เช่น ภาพ เสียง ข้อมูล หรือ วิดีโอ อันเป็นการสนองความต้องการของตนเอง ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมในโลกแห่งสังคม การเมืองและเศรษฐกิจ ผู้คนมาพบกันในตลาดแห่งการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ
5. เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แทบทุกๆ ด้านและมีแนวโน้มที่จะยิ่งเปลี่ยนแปลงมากยิ่งขึ้นในอนาคต การดำเนินชีวิตประจำวัน การทำงาน มากที่สุดในอนาคต
 
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสังคมในทางบวกหรือทางที่ดีมีดังนี้
1. ช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์
2. ช่วยทำให้การผลิตในอุตสาหกรรมดีขึ้น
3. ช่วยส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้าวิจัยสิ่งใหม่
4. ช่วยส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
5. ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์
6. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง
7. ช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน
8. ช่วยส่งเสริมประชาธิปไตย
 
ผลกระทบในทางลบ
1. ทำให้เกิดอาชญากรรม
2. ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย
3. ทำให้เกิดความวิตกกังวล
4. ทำให้เกิดความเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ 
5. ทำให้การพัฒนาอาวุธมีอำนาจทำลายสูงมากขึ้น
6. ทำให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมและกระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว

บทที่ 2 ระบบสารสนเทศและการประยุกต์ใช้งาน


Image result for ระบบสารสนเทศและการประยุกต์ใช้งาน
 
ความหมายของข้อมูล สารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบ หรือข้อเท็จจริงต่างๆ อาจเป็นข้อมูลที่แทนด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ ที่แทนปริมาณหรือการกระทำต่างๆ ซึ่งยังไม่ผ่านการกลั่นกรองหรือประมวลผล อาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร ข้อความ ภาพ และเสียง เป็นต้น
คุณสมบัติของข้อมูลที่ดีจะต้องมีความถูกต้องเชื่อถือได้ ทันต่อความต้องการใช้งาน ตรงตามความต้องการใช้งาน มีปริมาณกะทัดรัด และสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ผ่านการกลั่นกรองหรือประมวลผลแล้ว เป็นความรู้ที่สามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ตามความต้องการได้
 
การประมวลผลข้อมูล ( Data Processing )
สามารถจำแนกวิธีการประมวลผลตามลักษณะเครื่องมือที่ใช้ ได้ 3 วิธี คือ 
1. การประมวลผลด้วยมือ (Manual Data Processing ) เป็นวิธีดั้งเดิม วิธีการประมวลผลไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณไม่มาก และไม่เร่งด่วน มีการนำอุปกรณ์ธรรมดามาช่วย เช่น การใช้ลูกคิด กระดาษ ปากกา
2. การประมวลผลด้วยเครื่องจักรกล (Mechanical Data Processing) เป็นวิธีการประมวลผลที่อาศัยเครื่องจักรกลมาทำงานร่วมกับอุปกรณ์สำหรับการประมวลผลด้วยมือ เช่น เครื่องทำบัญชี
3. การประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing) เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ซึ่งนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประมวลผล เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณมาก ต้องการความรวดเร็ว ถูกต้อ
งานที่มีปริมาณมาก
 • งานที่ต้องการความรวดเร็ว
งานที่ต้องการความถูกต้อง
งานที่ต้องการความปลอดภัยของข้อมูล
งานที่มีความซับซ้อนในการคำนวณ
งานที่มีขั้นตอนและรูปแบบการทำงานซ้ำๆ
** สำหรับการประมวลผลด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ยังสามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ
1. การประมวลผลแบบแบทซ์ (Batch Processing ) เป็นวิธีที่ต้องใช้เวลารวบรวมข้อมูลตามช่วงเวลาที่กำหนด ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการประมวลผล วิธีนี้จะไม่มีการโต้ตอบกัน (Interactive) ระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ จึงเรียกวิธีการประมวลผลแบบนี้ว่า ออฟไลน์ (off-line)
ข้อดี        - เหมาะสำหรับบริษัทที่มีขนาดใหญ่ มีปริมาณมาก แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลทันที                           - ง่ายต่อการตรวจสอบ ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ง่าย
ข้อเสีย    - ข้อมูลที่ได้ไม่ทันสมัย เนื่องจากมีกำหนดระยะเวลาในการประมวลผล
- เสียเวลาในการรวบรวมข้อมูล
2.  การประมวลผลแบบอินเทอร์แอคทีฟ (Interactive Processing) เป็นวิธีที่ไม่ต้องรอเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อคอมพิวเตอร์ระบข้อมูลเข้าสู่ระบบก็จะทำการประมวลผลและให้ผลลัพท์ได้ทันที วิธีนี้ผู้ใช้และคอมพิวเตอร์จะมีการโต้ตอบกัน จึงเรียกวิธีการประมวลผลแบบนี้ว่า ออนไลน์ (on-line) เช่น การถอนเงินจากเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) เมื่อมีการถอนเงิน ยอดเงินในบัญชีจะมีการเปลี่ยนแปลงทันที
ข้อดี        - สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่นำเข้าไปได้ทันที ข้อมูลที่ได้ทันสมัย
ข้อเสีย    - มีโอกาสที่เกิดความผิดพลาดได้ การแก้ไขข้อผิดพลาดทำได้ยาก
            เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology - IT) หมายถึง เทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ
ระบบสารสนเทศ หมายถึง การไหลของข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กรอย่างเป็นขั้นตอน ตั้งแต่การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล และการนำเสนอสารสนเทศ
กิจกรรมของระบบสารสนเทศพื้นฐานมี 3 ชนิด คือ Input, Process และ Output การทำงานจะเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนข้อมูลดิบที่เข้ามาทางด้าน Input โดยผ่านการประมวลผลหรือการกลั่นกรองให้เป็นสารสนเทศที่ออกมาทาง Output ผลลัพธ์ที่ได้จาก Output จะย้อนกลับไปยัง Input เพื่อให้มีการประเมินผลการทำงานต่อไป
 
 
ความจำเป็นของระบบสารสนเทศ
ข้อมูล ข่าวสารเป็นหัวใจหลักของการดำเนินงานในทุกๆ องค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่ดำเนินธุรกิจ การศึกษา ซึ่งบุคลากรของแต่ละองค์กรก็มีความต้องการใช้สารสนเทศที่แตกต่างกัน ได้แก่
                ผู้บริหารระดับสูง (Top Manager) เช่น ปลัดกระทรวง อธิบดี ประธานบริษัท มีหน้าที่กำหนดทิศทาง วิสัยทัศน์ รวมทั้งการวางแผนในระยะยาว มักมีความต้องการสารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์กรโดยสรุปของสภาพในอดีต ปัจจุบัน ตลอดจนแนวโน้มในอนาคต
ผู้บริหารระดับกลาง (Middle Manager) เช่น ผู้อำนวยการ อธิการบดี มีหน้าที่รับนโยบายจากผู้บริหารระดับสูงมาวางแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ มักมีความต้องการสารสนเทศที่ค่อนข้างละเอียดของสภาพในอดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต
ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (Operation Manager) เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ มีหน้าที่ดูแลควบคุมด้านการปฏิบัติงาน มักมีความต้องการสารสนเทศเฉพาะด้านที่ทำงานอยู่ในปัจจุบัน
การใช้สารสนเทศของผู้บริหารในระดับต่างๆ ก็เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของการตัดสินใจออกได้ 3 ประเภท คือ
1. การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (Structure Decision) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับงานที่ทำเป็นประจำ (Routine) มักมีหลักเกณฑ์และขั้นตอนในการแก้ไขปัญหาที่กำหนดขึ้นอย่างชัดเจน
2. การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Decision) เป็นการตัดสินใจกับงานที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า จะเกี่ยวข้องกับปัจจัยภายนอกองค์กร
3. การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Decision) เป็นการตัดสินใจที่อยู่ระหว่างการดัดสินใจแบบที่ 1 และแบบที่ 2
 
ระดับผู้บริหารในองค์กร ( Manager Level ) แบ่งได้ 3 ระดับ ดังนี้
บทที่ 2 ระบบสารสนเทศและการประยุกต์ใช้งาน


1. ผู้บริหารระดับสูง (Top Manager) ดูแลกำหนดทิศทางขององค์กร ด้านวิสัยทัศน์ นโยบาย เป็นการวางแผนในระยะยาว จะใช้การตัดสินใจในระดับกลยุทธ์ (Strategic planning )
2. ผู้บริหารระดับกลาง ( Middle Manager ) รับนโยบายจากผู้บริหารระดับสูงมาวางแผน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ จะใช้การตัดสินใจในระดับยุทธวิธี (Practical planning )
3. ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (Operational Manager) รับผิดชอบดูแลควบคุมด้านการปฏิบัติงานรายวัน โดยรับแผนปฏิบัติมาจากผู้บริหารระดับกลาง จะใช้การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ (Operational planning )
*บทบาทการตัดสินใจของผู้บริหารเป็นจุดสำคัญสำหรับองค์กร ดังนั้นผู้บริหารจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ช่วยในการวางแผนและตัดสินใจสำหรับปัญหารูปแบบต่าง ๆ เครื่องมือนั้นคือ "สารสนเทศที่ถูกต้อง ชัดเจนและรวดเร็ว" 
 
ประเภทของระบบสารสนเทศ
1. ระบบประมวลผลรายการ (TPS) ช่วยให้ผู้บริหารทำการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน ซึ่งหมายถึง การเปลี่ยนแปลงข้อมูลในกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร โดยจะใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยในการประมวลผลเพื่อความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน
2. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (OAS) เป็นระบบที่ออกแบบขึ้นเพื่อช่วยให้การทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับอุปกรณ์ต่างๆ ของสำนักงาน เพื่อประโยชน์ในการใช้งาน ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) เป็นระบบที่สนับสนุนให้การทำงานสำนักงานของผู้บริหารทั้ง 3 ระดับ โดยเน้นการเตรียมรายงานสรุปให้กับผู้บริหารระดับต่างๆ สารสนเทศที่ได้รับมักมาจากระบบ TPS นำมาสรุปให้อยู่ในรูปของรายงาน กราฟ ง่ายต่อการวิเคราะห์ พิจารณา เพื่อให้ผู้บริหารใช้วางแผนและกำหนดนโยบายต่อไป เช่น การรายงานยอดขาย เป็นต้น
ลักษณะของระบบ MIS ที่ดี
·       สนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน
·       ใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกัน และสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่างๆ ในองค์การ
·       ช่วยให้ผู้บริการระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูง เรียกใช้ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามต้องการ
·       มีความยืดหยุ่นสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร
·       ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูลและจำกัดการใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS ) เป็นระบบที่พัฒนามาจาระบบ MIS เนื่องจากในบางกรณีองค์ประกอบในการตัดสินใจมีความซับซ้อนมากเกินกว่าความสามารถในการประมวลผลของมนุษย์ ที่จะประมวลผลได้อย่างถูกต้องจึงทำให้เกิดระบบ DSS ซึ่งเป็นระบบที่สามารถกำหนดทางเลือกให้ผู้บริหาร เป็นระบบที่สามารถโต้ตอบได้ นอกจากนี้ยังมีโมเดลในการวางแผนตัดสินใจและการทำนาย ข้อมูลที่ใช้มักได้มาจากระบบ TPS, MIS และข้อมูลภายนอกองค์กร
5. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (ESS ) เป็นระบบ DSS ที่ออกแบบให้ใช้เฉพาะกับผู้บริหารระดับสูง เป็นระบบที่เข้ามาช่วยให้ข้อมูล ข่าวสาร การนำเสนอสารสนเทศ ระบบสามารถโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้กับระบบ ทำให้ใช้งานได้สะดวก ข้อมูลที่ใช้มาทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร นำมาสรุปให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถตรวจสอบได้
6.  ระบบผู้เชี่ยวชาญและปัญญาประดิษฐ์ (ES & AI) เป็นระบบที่รวบรวมความรู้ในสาขาต่างๆ ของผู้เชี่ยวชาญไว้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เพื่อจุดมุ่งหมายในการวิเคราะห์หาเหตุผลของผู้เชี่ยวชาญ เช่น ระบบินิจฉัยโรคด้วยคอมพิวเตอร์  การประยุกต์ใช้งาน AI มี 4 ระบบ คือ
1. ระบบผู้เชี่ยวชาญ
2. ภาษาธรรมชาติ
3. ความสามารถในการจำลองประสาทสัมผัสของมนุษย์
4. ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์
 
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทางธุรกิจ
1. การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) คือ การทำธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยอาศัยบริการ EDI และ E-mail ซึ่งเป็นบริการที่อาศัยระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ข้อดีของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การซื้อสินค้าได้โดยไม่ต้องเบียดเสียดกับผู้คน สามารถซื้อสินค้าได้ตลอดเวลาที่ต้องการ และสามารถซื้อสินค้าได้ทุกทีไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านหรือที่ทำงาน
2. การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Data Interchange : EDI) คือ การสื่อสารข้อมูลในรูปแบบมาตรฐานหรือรูปแบบที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มผู้แลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อนำไปดำเนินการทางธุรกิจ โดยส่งผ่านเครือข่ายสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ ดาวเทียม เป็นต้น การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีประโยชน์อย่างมากในการทำการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะช่วยลดค่าใช้จ่าย ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และรวดเร็ว




บทที่ 3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

บทที่ 3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
Image result for เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
 
1. ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์(Computer) หมายถึง อุปกรณ์อิเลคทรอนิกที่ใช้ในการจัดการข้อมูลที่มีหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล (คำนวณและตรรกะ) แล้วนำข้อมูลไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ (Memory Unit) และนำข้อมูลออกมาแสดงผลทางหน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit)
คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์มีความสามารถในการเก็บข้อมูลไว้ได้เป็นจำนวนมากและสามารถเรียกมาใช้งานได้เมื่อต้องการสามารถนำไปใช้กับงานได้ดังนี้
-          งานคำนวณที่สลับซับซ้อนมาก เช่น สูตรทางคณิตศาสตร์
-          งานที่มีปริมาณข้อมูลเป็นจำนวนมาก เช่น การคำนวณภาษีเงินได้
-          งานที่ต้องทำเป็นประจำ เช่น การค้นหาประวัติลูกค้า การทำบัญชีรายวัน
-          งานที่ต้องการความถูกต้องสูง เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำตามคำสั่งได้อย่างแม่นยำ
2. วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
การแบ่งวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ จะแบ่งออกเป็นยุค ๆ ตามลักษณะโครงสร้างและเทคโนโลยีของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยสามารถแบ่งได้เป็น
2.1    คอมพิวเตอร์ยุคแรก (ค.ศ. 1951-1958)
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูง เพราะมีขนาดใหญ่ จึงมีปัญหาเรื่องความร้อน และไส้หลอดขาดบ่อย
-          ใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ และหลอดสุญญากาศ
-          การทำงานใช้ภาษาเครื่อง (Machine Language)
-          คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ คือ UNIVAC
-          ตัวอย่างของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคแรก ได้แก่ มาร์ค วัน (MARK 1), อินีแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)
    


                                                              
2.2 คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง (ค.ศ. 1959-1964)
-          เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ (transistor) แทนหลอดสุญญากาศ
-          มีความเร็วที่สูงกว่า มีความถูกต้องแม่นยำ และประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีกว่า
-          เครื่องมีขนาดเล็ก ใช้กำลังไฟฟ้าน้อยและราคาถูกลง
-          ใช้วงแหวนแม่เหล็กที่ทำขึ้นจากสาร ferromagnetic เป็นหน่วยเก็บความจำ
-       ในช่วงต้น ค.ศ.1960 ได้เริ่มมีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก และดิสก์ มาใช้ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง
-          ภาษาที่ใช้เป็นภาษาระดับสูง ซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล
2.3 คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม (ค.ศ. 1965-1971)
-          เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับคอมพิวเตอร์ เพราะมีการคิดค้น
วงจรรวม (Integrated Circuit) หรือ IC
ซึ่งสามารถทำงานได้เท่ากับทรานซิสเตอร์หลายร้อยตัว
 
  
 
 
-          เครื่องคอมพิวเตอร์จึงมีขนาดเล็กลง ความเร็วเพิ่มขึ้น และใช้กำลังไฟน้อย
-          โครงสร้างคอมพิวเตอร์มีการออกแบบที่ซับซ้อนขึ้น
-          ภาษาที่ใช้ได้แก่ ภาษาโคบอล (COBOL) และภาษาพีแอลวัน (PL/1)
2.4 คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ (ค.ศ. 1972-1980)
-          เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integration : VLSI)
-          ขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงหรือไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นแบบตั้งโต๊ะ หรือพกพาได้
-          ทำงานเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
-          ใช้สื่อข้อมูลพวกเทปแม่เหล็ก หรือ จานแม่เหล็ก
ภาษาที่ใช้เป็นภาษาใหม่ ๆ เช่น ภาษาเบสิก (BASIC) ภาษาปาสคาล (PASCAL) และภาษาซี (C) ซอฟต์แวร์มีการพัฒนามาก มีโปรแกรมสำเร็จใหเลือกใช้กันมากขึ้น
2.5 คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า (ค.ศ. 1980-ปัจจุบัน) คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้เพื่อช่วยในการจัดการ การตัดสินใจ และแก้ปัญหา โดยจะมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ เมื่อต้องการใช้งานก็สามารถเรียกข้อมูลที่เก็บไว้มาใช้ในการทำงานได้
-          คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI)
-          มีการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานด้านกราฟิกอย่างแพร่หลายมากขึ้น
-          ขนาดเครื่องมีแนวโน้มเล็กลงและมีความเร็วสูง เช่น โน้ตบุ้ค (Notebook)
-          การปฏิบัติงานต่าง ๆ มีการใช้คอมพิวเตอร์แทนแรงงานมนุษย์
-          ซอฟต์แวร์มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วขึ้นมาก รวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้นหุ่นยนต์

บทที่ 1 สังคมสารสนเทศ

บทที่ 1 สังคมสารสนเทศ     ความหมายของสังคมสารสนเทศ สังคมสารสนเทศหรือสังคมข่าวสาร ( The information society) เป็นสังคม...