วันศุกร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2560

บทที่ 1 สังคมสารสนเทศ



บทที่ 1 สังคมสารสนเทศ
 
Image result for สารสนเทศ

 
ความหมายของสังคมสารสนเทศ

สังคมสารสนเทศหรือสังคมข่าวสาร (The information society) เป็นสังคมที่มีการใช้สารสนเทศรูปแบบต่างๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจทั้งเพื่อประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม ในสังคมสารสนเทศจะทำให้เราได้รับสารสนเทศที่มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการและทันเวลา สังคมสารสนเทศ เราสามารถแบ่งกลุ่มเทคโนโลยีต่างๆ ที่จัดอยู่ในประเภทเทคโนโลยีสารสนเทศได้ดังนี้
 • เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีโทรคมนาคมหรือการสื่อสารข้อมูล
 
คุณลักษณะของสังคมสารสนเทศ
1. เป็นสังคมที่มีการใช้สารสนเทศที่บันทึกอยู่บนสื่อที่เป็นเอกสาร สิ่งพิมพ์ และไม่ตีพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เสียงภาพ ฯลฯ
2. เป็นสังคมที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT เพื่อการได้มา จัดเก็บ ประมวลผล สืบค้น และเผยแพร่สารสนเทศให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้อย่างรวดเร็วถูกต้องและทันเวลา
3. เป็นสังคมที่มีการใช้ผลิตภัณฑ์หรืออุปกรณ์ที่มีไมโครโพรเซสเซอร์เป็นตัวควบคุมการทำงาน เครื่องอำนวยความสะดวก ตัวอย่างเช่น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เตาไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์กันขโมย ระบบควบคุมไฟฟ้า เป็นต้น
4. เป็นสังคมที่ผู้ใช้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ด้วยตนเองทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม อันนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตและการเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบการด้านต่างๆ
 
ความสำคัญของสารสนเทศ
ในปัจจุบันมีคำพูดที่กล่าวถึงความสำคัญของสารสนเทศว่า Information is Power หรือสารสนเทศคือพลัง หมายถึง ผู้ใดที่มีสารสนเทศหรือ ได้รับสารสนเทศที่มีคุณค่าและทันสมัย ผู้นั้นย่อมมีพลังหรือมีอำนาจ ได้เปรียบผู้อื่นในทุก ๆ ด้านเพราะสารสนเทศเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งอันเกิดจากสติปัญญาของมนุษย์ เพื่อประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ จึงมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคม คือ สารสนเทศที่ดี ถูกต้อง เหมาะสมจะช่วยพัฒนาบุคคลในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. พัฒนาสติปัญญา ช่วยให้เป็นผู้ที่ได้รับ เจริญก้าวหน้าทางการศึกษามีความคิดสร้างสรรค์ สามารถนำความรู้ แนวคิดต่าง ๆ มาพัฒนาสติปัญญาของตนให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
2. พัฒนาบุคลิกภาพ สารสนเทศต่าง ๆ ที่ได้รับรู้นั้น สามารถนำไปพัฒนาบุคลิกภาพส่วนบุคคลได้ ทำให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
3. เกิดความเจริญงอกงามด้านจิตใจ   มีคุณค่าต่อจิตใจทำให้มี จิตใจเป็นธรรม ไม่อคติ สามรถควบคุมอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้ มีจิตใจดี รักศิลปะ และวรรณกรรม
4. เพิ่มประสิทธิภาพการประกอบอาชีพ บุคคลที่มีสารสนเทศที่ดี ถูกต้องทันสมัยย่อมได้เปรียบผู้อื่น สามารถนำสารสนเทศที่ได้รับใหม่ ๆ นั้นมาเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบอาชีพให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
5. การตัดสินใจที่เกิดประโยชน์สูงสุด หากมีสารสนเทศที่ดี ถูกต้อง สมบูรณ์ จะทำให้บุคคลสามารถตัดสินใจในการบริโภค การประกอบการ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและใช้สารสนเทศตัดสินใจเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนให้ดีขึ้น
ความสำคัญของสารสนเทศต่อสังคม สารสนเทศที่มีคุณภาพจะช่วยพัฒนาสังคมโดยส่วนรวมได้หลายด้าน คือ
1. ด้านการศึกษา การเลือกใช้สารสนเทศที่ดี ทันสมัย มีคุณค่าจะช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2. การศึกษาค้นคว้า วิจัย ที่มีประสิทธิภาพ น่าเชื่อถือและสามรถนำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมได้มาก
3. พัฒนาวิทยาการและเทคโนโลยีให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น เพราะสารสนเทศที่ถ่ายทอดความรู้ เทคนิคใหม่ ๆ สืบต่อกันมานั้น สามารถนำไปพัฒนาวิทยาการและเทคโนโลยีให้ ก้าวหน้ายิ่งขึ้นซึ่งมีผลต่อการพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
4. การถ่ายทอดวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ความรักในศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติตน
5. สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างมนุษยชาติ การได้รับสารสนเทศที่มีคุณค่า ช่วยให้ผู้รับมีโลกทัศน์กว้างขวาง แม้จะต่างเชื้อชาติ ศาสนา ก็มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน ช่วยลดความขัดแย้ง ทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
6. พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ สารสนเทศที่มีคุณค่าช่วยลดปัญหาการลองผิดลองถูกทำให้ลดต้นทุนและช่วยเพิ่มผลผลิตและรายได้ ทำให้เศรษฐกิจของบุคคลและประเทศชาติดีขึ้น
7. พัฒนาการเมือง สารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองที่มีคุณค่า มีคุณธรรมปราศจากอคติ ย่อมก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอันดีทางด้านการเมือง ซึ่งจะเป็นผลดีในการพัฒนาระบบ การเมืองของประเทศชาติให้ดีขึ้น
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สารสนเทศนั้นมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคม ช่วยพัฒนาบุคคลให้มีความก้าวหน้าทางสติปัญญา ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพ พัฒนาอาชีพ สามารถตัดสินใจแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ มีโลกทัศน์กว้างขวางซึ่งมีผลต่อการพัฒนาสังคม การพัฒนาประเทศ ทั้งด้านสังคม ด้านการศึกษา ศิลปวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครอง
 
ยุคสารสนเทศ
การเข้าใจยุคสมัยจะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้เหมาะสมและสามารถเข้ากับคนอื่นได้เป็นอย่างดี ยุคสมัยจากอดีตถึงปัจจุบันประกอบด้วยยุคต่างๆ ตามแนวคิดของ อัลวิน ทอฟเลอร์ ดังนี้
1.1 ยุคเกษตรกรรม ยุคนี้เป็นยุคแรกของมนุษย์ที่รู้จักการรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มๆ ทำให้มีพฤติกรรมการอยู่ร่วมกัน โดยใช้เกษตรกรรมซึ่งเป็นปัจจัยในการยังชีพมาเป็นหลัก
1.2 ยุคอุตสาหกรรม ยุคนี้โลกได้พัฒนาขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง มนุษย์คิดค้นเครื่องมือการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีมาช่วยแรงงานมนุษย์ ก่อให้เกิดการแข่งขันด้านการผลิต ที่ต้องใช้ "ทุน" มาเป็นตัวประกอบที่สำคัญทำให้ระบบเงินตราและการใช้ทรัพยากรมีความสำคัญมากขึ้น ในระบบนี้ทุกอย่างล้วนต้องแข่งขันกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
1.3 ยุคสารสนเทศ (Information Technology) เราเริ่มเข้าสู่ระบบสารสนเทศ (Information Techno logy) อย่างเต็มรูปแบบมากขึ้น อำนาจและอิทธิพลของการดำเนินชีวิตถูกควบคุมด้วยระบบสารสนเทศ ใครที่ไม่มีข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอก็จะดำรงตนอยู่ในสังคมลำบากขึ้นทุกขณะ สารสนเทศเป็นทั้งอาวุธที่ใช้ต่อสู้กับการดำเนินชีวิตประจำวันและยังใช้เป็นเครื่องมือในการหาโอกาสเพื่อสร้างฐานะได้ด้วย
 
ตารางเปรียบเทียบยุคต่าง ๆ
 
ระยะเวลา
คนทำงาน
ความสัมพันธ์
เครื่องมือหลัก
ยุคเกษตรกรรม
..1750
เกษตรกร
คนกับที่ดิน
แรงงาน
ยุคอุตสาหกรรม
1750-1980
คนงานโรงงาน
คนกับเครื่องมือ
เครื่องจักร
ยุคสารสนเทศ
1980-ปัจจุบัน
คนงานความรู้
คนกับคน
ไอที

คุณลักษณะของสังคมสารสนเทศ
พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและแนวโน้มต่อไปในอนาคตมีส่วนสำคัญอย่างมากมายที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และความหลากหลายต่อการจัดการ
สารสนเทศ และการดำเนินชีวิตประจำวัน ของบุคคล ตลอดจนถึงหน่วยงานต่าง ๆ จอห์น ในส์บิทท์ได้ทำนายเหตุการณ์ไว้ดังนี้
1. จะเกิดการผสมกลมกลืนระหว่างเทคโนโลยี เป็นการรวมกันระหว่าง โทรศัพท์ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะช่วยให้การสื่อสารของมนุษย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. กลยุทธ์การรวมกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจ โดยบริษัททางธุรกิจจะรวมตัวกัน เช่น บริษัทหนังสือพิมพ์ รวมกับบริษัทโทรทัศน์และบริษัทที่เป็นเจ้าของดาวเทียม เครือข่ายโทรศัพท์ รวมตัวกับบริษัทที่เป็นเจ้าของดาวเทียม เครือข่ายโทรศัพท์รวมตัวกับบริษัทโทรคมนาคม เพื่อจัดส่งวิดีโอ ออนดีมานด์ ด้วยเหตุที่ผู้บริโภคต้องการของที่ใช้ง่าย สะดวกและใช้ได้ดี ซึ่งออกมาในรูปของสื่อประสม
3. การสร้างระดับเครือข่ายระดับโลก การปฏิวัติทางด้านสื่อสารมีส่วนในการสร้างเครือข่ายของเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมคนทั่วโลกเข้าด้วยกัน ทำให้คนจากสถานที่แห่งหนึ่ง สามารถติดต่อกับอีกคนหนึ่งที่อยู่ห่างออกไปคนละขั้วโลก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ชีวิตคนเปลี่ยนไป
4. คอมพิวเตอร์ส่วนตัวสำหรับทุกคน ซึ่งเป็นการปฏิวัติไปสู่การมีส่วนร่วมทางข่าวสารและสารสนเทศ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ที่บ้าน ที่ทำงาน เราก็สามารถทำงานได้โดยใช้ "คอมพิวเตอร์" เป็นเครื่องมือที่จะส่งรับ การสื่อสารทุกประเภท เช่น ภาพ เสียง ข้อมูล หรือ วิดีโอ อันเป็นการสนองความต้องการของตนเอง ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมในโลกแห่งสังคม การเมืองและเศรษฐกิจ ผู้คนมาพบกันในตลาดแห่งการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ
5. เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แทบทุกๆ ด้านและมีแนวโน้มที่จะยิ่งเปลี่ยนแปลงมากยิ่งขึ้นในอนาคต การดำเนินชีวิตประจำวัน การทำงาน มากที่สุดในอนาคต
 
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสังคมในทางบวกหรือทางที่ดีมีดังนี้
1. ช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์
2. ช่วยทำให้การผลิตในอุตสาหกรรมดีขึ้น
3. ช่วยส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้าวิจัยสิ่งใหม่
4. ช่วยส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
5. ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์
6. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง
7. ช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน
8. ช่วยส่งเสริมประชาธิปไตย
 
ผลกระทบในทางลบ
1. ทำให้เกิดอาชญากรรม
2. ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย
3. ทำให้เกิดความวิตกกังวล
4. ทำให้เกิดความเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ 
5. ทำให้การพัฒนาอาวุธมีอำนาจทำลายสูงมากขึ้น
6. ทำให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมและกระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่ 1 สังคมสารสนเทศ

บทที่ 1 สังคมสารสนเทศ     ความหมายของสังคมสารสนเทศ สังคมสารสนเทศหรือสังคมข่าวสาร ( The information society) เป็นสังคม...